วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561

กุุ้งเป็นโรคขี้ขาวใช้ไคโตซานฟาร์มโอเค หายภายใน 3วัน

กุ้งเป็นโรคขี้ขาว


อาการขี้ขาวเป็นอาการที่คนเลี้ยงกุ้งสามารถพบได้ทุกช่วงของการเลี้ยงตั้งแต่อายุ 25 วันจนถึงจับ แต่จากการเก็บข้อมูลที่มีปัจจุบันพบว่าช่วงที่มีพบเริ่มต้นคืออายุประมาณ 45-60 วัน และนับวันจะเป็นปัญหาที่รบกวนเกษตรกรเป็น อย่างมากใน แต่ละปี โดย

การเกิดขี้ขาวพอจะแบ่งความรุนแรงได้ 2 ลักษณะ 


1. หากเป็นขี้ขาวลอยมากและค่อนข้างเป็นเส้นที่ละเอียดและลอยเป็นจำนวนมาก ใช้มือบีบขี้ที่ลอยน้ำจะนุ่มละเอียด และทวีความรุนแรงภายใน 3-5 วัน จนเป็นสาเหตุให้การกินอาหารลดลงมาก และดูสภาพเซลล์ตับ-ตับอ่อน และเม็ดไขมันประกอบพบว่า กุ้งจะมีอาการตับฝ่อร่วมกับการเป็นขี้ขาว เซลล์ตับและเซลล์เม็ดไขมันไม่มีเลยโดนทำลายหมดหรือหลุดออกมาหมด

(ขี้ขาวที่เห็นเมื่อส่องกล้องจะเจอแต่เม็ดไขมัน)และเกือบทุกกรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรียทั้งในเซลล์ตับและตับอ่อน และในลำไส้เกิดการอักเสบ อย่างรุนแรง(ปัจจุบันดร.ชลอและทีมงานได้พิสูจน์ให้เห็นว่ากุ้งที่เป็นขี้ขาวจากหลายๆฟาร์ม

เมื่อดูดเลือดกุ้งมาเพาะเชื้อจะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่าภาวะปกติหลายเท่า)

ส่วนคุณภาพน้ำที่เจอเราพบว่ามีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาขี้ขาวคือ ถ้าคุณภาพน้ำในบ่อมีปัญหาเรื่อง แอมโมเนีย แก๊สไข่เน่า หรือไนไตร์ทสูงช่วงที่มีการระบาดของอาการขี้ขาวจะพบในบ่อดังกล่าวง่ายครับ อีกทั้งกรณีการเกิดสาหร่ายกลุ่มสีเขียวแกมน้ำเงิน เช่น สาหร่ายขนแมว (Oscillatoria spp.) สาหร่ายเม็ด (Microcystis spp.) แพลงก์ตอนกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต(Dinoflagellate)ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับสารพิษ

ที่สาหร่ายกลุ่มนี้ที่สามารถสร้างและทำให้กุ้งเกิดความ เครียดจนเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดการทำลายของ

เชื้อแบคทีเรียตามมา (Secondary infection)ได้เช่นกัน



2. กรณีที่เป็นขี้ขาว แต่ไม่รุนแรง และลักษณะเส้นขี้ขาวที่ลอยน้ำ เส้นยาว ๆ และใช้มือบีบจะมีลักษณะเป็นเม็ดสาก ๆ การตายจะไม่รุนแรง การกินอาหารจะไม่ลดลงมาก แต่จะไม่กินเพิ่มทำให้การเลี้ยงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะกุ้งจะกินอยู่เท่าเดิมตลอด หรือค่อย ๆ ลดปริมาณลง การแก้ปัญหาการกินสารแก้ขี้ขาวทั่วไป ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งประเด็นนี้น่าจะมาจากการที่กุ้งย่อยอาหารไม่สมบูรณ์หรือสิ่งที่กุ้งกินเข้าไปไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้ของตัวกุ้ง



สาเหตุการเกิดขี้ขาว


1. ขี้ขาวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Vibrio parahaemolyticus (โคโลนีสีเขียว)

ž V. fluvialis (โคโลนีสีเหลือง) V. vulnificus (โคโลนีสีเขียว) V. mimicus (โคโลนีสีเขียว)

ซึ่งพบทุกพื้นที่เพราะไม่ว่าจะสาเหตุเริ่มต้นเพราะอะไร สุดท้ายแบคทีเรียก็เข้ามาสมทบ หลังจากที่กุ้งเกิดความเครียด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเขตน้ำจืดหรือเลี้ยงความเค็มปกติ ความเค็มสูงก็สามารถเจอได้เหมือนกัน ความรุนแรงคล้าย ๆ กัน หากเกษตรกรให้กุ้งกินสารแก้ถูกชนิด(การผสมกรดอินทรีย์ในอาหาร หรือ ผสมโปรไบโอติกในอาหาร)ตอนเริ่มเป็นก็สามารถลดความรุนแรงได้ และหากสภาพแวดล้อมไม่ดีกุ้งก็จะกลับมาเป็นขี้ขาวอีกและหนักกว่าเดิม และเป็นสาเหตุหลักของการขาดทุนและต้องจับก่อน กำหนด



2. ขี้ขาวที่เกิดจากพวกพยาธิ ชื่อ กรีการีน จากข้อมูลที่เก็บและลงพื้นที่ด้วยตนเองพบว่าปัญหาขี้ขาวในบางพื้นที่ของไทยเกิดจากพยาธิกรีการีนจริงๆ

เพราะตรวจเองและก็เจอจริงๆเช่นในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อาการขี้ขาวที่เกิดจากพยาธิที่ทำลายลำไส้กุ้งเริ่มจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นสาเหตุให้แบคทีเรียทำลายสุดท้ายรักษาไม่หายก็ต้องจับกุ้งเพราะว่ากุ้งกิน อาหาร ไม่เพิ่ม มีแต่เท่าเดิมหรือลดลงซึ่งความรุนแรงตอนนี้พบทั้งในน้ำจืด และเป็นปัญหาหนักในเขตที่เลี้ยงความเค็ม

หากขี้ขาวเกิดจากพยาธิชื่อกรีการีน เราสามารถแก้ได้โดยการให้กินกระเทียม 10 กรัม/อาหารกุ้ง 1 กิโลกรัมติดต่อกัน5วัน หรือล่าสุด ที่ น.สพ. วิศณุ บุญญาวิวัฒน์(จากงานประชุมวิชาการที่จุฬาฯกันยายน2553) แนะนำว่าถ้ากุ้งอายุไม่เกิน60 วันจะแนะนำให้กินยากลุ่มcoccidiostat(ยาแก้โรคบิดในสัตว์บก) เน้นนะครับว่าถ้ากุ้งอายุมากกว่านี้ไม่ให้กินยาโดยเด็ดขาด แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวผมแนะนำให้ผสมกระเทียมดีกว่า



3. ขี้ขาวที่เกิดจากสารพิษต่าง ๆที่สามารถทำให้กุ้งเกิดการระคายเคืองในลำไส้ เช่น กรณีอาหารไม่ได้คุณภาพ สารพิษจากเชื้อรา สารพิษจากแพลงก์ตอน ซึ่งกลุ่มนี้จริง ๆ เจอน้อยมาก ส่วนมากจะโดนสมทบโดยพยาธิและแบคทีเรีย แก้ปัญหาเปลี่ยนอาหาร เปลี่ยนถ่ายน้ำลดกลุ่มแพลงก์ตอนเดิม



แนวทางการป้องกันและรักษาโรคขี้ขาว


1. ควรนำกุ้งและขี้กุ้งไปให้นักวิชาการที่มีความชำนาญตรวจเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา

2. การให้กุ้งกินโปรไบโอติกเพื่อป้องกันการติดเชื้อในลำไส้หรือทางเดินอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เป็นการป้องกันแบคทีเรียเข้าทำลายลำไส้ โดยเฉพาะโปรไบโอติกสายพันธุ์ที่ทนทานในลำไส้และมีประโยชน์อย่างแท้จริง

3. การเตรียมบ่อ เตรียมน้ำอย่างดี และปล่อยกุ้งในปริมาณที่เหมาะสม จะเป็นการลดปัญหาโรคขี้ขาวอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมาบ่อไหนเตรียมบ่อดี ปัญหาขี้ขาวน้อยกว่าบ่อที่เร่งลงกุ้งโดยไม่ยอมปรับปรุงสภาพพื้นบ่อและเตรียมน้ำให้ดี

4.การพยายามควบคุมอย่าให้มีแพลงก์ตอนพิษ เช่นในเขตเลี้ยงความเค็มต่ำหรือน้ำจืดควรระวังกลุ่มสีเขียวแกมน้ำเงิน เช่น สาหร่ายขนแมว สาหร่ายเม็ด เพราะแพลงก์ตอนพิษนี้สามารถสร้างสารที่อาจทำให้ลำไส้กุ้งระคายเคืองหรืออักเสบได้ และทำให้พีเอชของน้ำสูงกว่าปกติทำให้กุ้งเกิดความเครียด ดังนั้นมีจำนวนมากที่บ่อมีปัญหาสาหร่ายขนแมวแล้วขี้ขาวจะตามมา หรือในเขตน้ำเค็มความเค็มสูงให้ระวังแพลงก์ตอนเรืองแสง(Dinoflagellate) ซึ่งสร้างสารพิษทำให้ลำไส้กุ้งอักเสบเป็นขี้ขาวได้เช่นกัน

5. ควรมองประเด็นขี้ขาวไปที่พยาธิภายในด้วยเช่นกัน เพราะบ่อยครั้งเกษตรกรเคยกินสารแก้ปัญหาขี้ขาวที่เกิดจากแบคทีเรีย บางครั้งหายแต่บางครั้งไม่ได้ผล หรือปัจจุบันการรักษายิ่งยากลำบากขึ้น ซึ่งน่าจะมีการดื้อยา หรือมีพยาธิทำลายในลำไส้ เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นประเด็นขี้ขาวจะมีความรุนแรงขึ้นมากกว่าเดิมในแทบทุกพื้นที่ และสัมพันธ์กันไปหมด หากบ่อไหนเป็นในพื้นที่ใกล้เคียงกันก็จะเป็นเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะไม่น่ากลัวเท่าไวรัส ตัวแดงดวงขาวหรือ โรคหัวเหลือง แต่ก็ทำให้เราสิ้นเปลืองมากเพราะมันจะเป็นเรื้อรัง ดังนั้นหากได้ตรวจผลแน่ชัดว่าขี้ขาวที่เกิดในบ่อเรานั้นเกิดจากพยาธิ แต่กินอาหารไม่ลดมากควรกินสารกำจัดพยาธิในลำไส้ เช่นกระเทียม

6. หากเป็นขี้ขาวรุนแรงเราควรมองประเด็นแบคทีเรีย หรือการร่วมกันระหว่างแบคทีเรียและพยาธิในลำไส้ ดังนั้นควรกินสารที่ใช้ในลำไส้ได้จริง ๆ และมีสารที่มีประสิทธิภาพในการสมานแผลและเคลือบลำไส้ ที่สำคัญทุกครั้ง ที่เราแก้ปัญหาขี้ขาวในลำไส้ในตัวกุ้งจำเป็นต้องจัดการเชื้อในน้ำทุกครั้ง โดยการใช้ไอโอดีนหรือสารเคมีที่กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้เพราะไม่ว่าเราจะจัดการในตัวได้ดีเพียงไรแต่ในน้ำไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาขี้ขาวก็จะกลับมา เหมือนเดิม

ดังนั้นรักษาในตัวกุ้งโดยการกินสารกำจัดเชื้อแล้วยังต้องควบคู่กับการรักษาในน้ำโดยใช้ยาฆ่าเชื้อเสมอ

เพื่อประสิทธิภาพในการักษาและป้องกันปัญหาย้อนกลับมาอีก


ขอบคุณ ข้อมูลจากคุณ เอกอนันต์ ยุวเบญจพล


โรคขี้ขาวในกุ้งขาวแวนนาไม


โดยทั่วไปพบกุ้งป่วยเป็นโรคขี้ขาวในบ่อทีปล่อยกุ้งค่อนข้างหนาแน่น น้ำขุ่น หนืด เป็นบ่อระบบปิดหรือกึ่งปิด ไม่มีการถ่ายเทน้ำ หรือบำบัดคุณภาพ น้ำที่ดีพอ
จากการตรวจสอบ พบว่าสาเหตุหลักของการเกิดโรคขี้ขาว มาจากการ อักเสบของลำไส้ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การดูดซึมอาหารในลำไส้ไม่ดี กุ้งผอม โตช้าและทยอยตายเนื่องจากอ่อนแอ ติดเชื้อฉวยโอกาส และกุ้ง บางส่วนทยอยตายระหว่างการลอกคราบเนื่องจากกุ้งอ่อนแอจากการที่ไม่ได้ รับสารอาหารเนื่องจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร โดยมีสาเหตุ ร่วมกับหลายๆ สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น

อาการของโรค

1. พบลักษณะขี้ขาวในลำใส้กุ้ง หรืออาหารไม่เต็มลำไส้
2. พบขี้ขาวลอยอยู่ผิวน้ำจำนวนมาก
3. กุ้งกินอาหารลดลง
 4. กุ้งเปลือกบาง กรอบแกรบ
5. กุ้งโตช้า และแตกไซส์
6. กุ้งทยอยตาย
สาเหตุการเกิดโรคขี้ขาวที่สำ คัญได้ดังนี้คือ
 1. ติดเชื้อ กรีการีน
2. ติดเชื้อ EHP (Enterocytozoon hepatopenaei)
 3. เกิดจากการสะสมของเสียในบ่อเลี้ยง
 4. การติดเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อวิบริโอ
 5. อาหารที่ใช้เลี้ยงมีคุณภาพต่ำหรือเสื่อมคุณภาพ เช่น มีความชื้นสูง มีการปนเปื้อนของเชื้อรา
 6. สายพันธุ์กุ้งไม่ดี เลือดชิด ทำให้กุ้งอ่อนแอติดเชื้อ ได้ง่าย
7. สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงในรอบวันสูง และ อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมาก หรือฝนตกทำให้ความชื้น สูงในอากาศเกิด เชื้อราปนเปื้อนในอาหารและภาชนะ เป็นผลให้กุ้งเครียดอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลงและเชื้อ แบคทีเรียเจริญได้ง่ายขึ้น
8. การเสียสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของกุ้ง จากการใช้ยาปฏิชีวนะ
การป้องกัน
1. การเตรียมบ่อที่ดี กรองน้ำหรือฆ่าเชื้อในน้ำ ถ้าจำเป็นกรณีมีการระบาดของโรคบำบัดคุณภาพดิน และน้ำก่อนการปล่อยกุ้ง เช่น การลอกเลน กรณีที่มี ปริมาณเลนหรือของเสียในบ่อมาก การบำบัดโดยใช้ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น จุลินทรีย์ ปม.1
2. กำจัดหอยที่อาจเป็นพาหะตัวกลางของเชื้อ (intermediate host) กรีการีน
3. เลือกซื้อลูกกุ้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้ กุ้งมีการพัฒนา สายพันธุ์ที่ดี ตรวจสอบสุขภาพลูกกุ้งก่อนการเลี้ยง เช่น ความแข็งแรงของลูกกุ้ง การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย EMS การติดเชื้อกรีการีน และ EHP
4. เลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพ ทั้งอาหารเม็ดสำเร็จรูป กรณีจำเป็นต้องใช้อาหารสด เช่นเพรียงทราย และ อาร์ทีเมียตัวโต ต้องตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อโรคในกุ้ง เช่น WSSV, IHHNV, TSV, YHV, เชื้อ EMS/AHPND และ EHP
5. โรงเรือนเก็บอาหารเม็ดสำเร็จรูปต้องสามารถป้องกันฝน และความชื้นได้ดี รวมถึงภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร ที่ต้องแห้ง ไม่ว่าจะเป็นถังผสมอาหาร ถังเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ
6. ตรวจสอบคุณภาพอาหาร ก่อนใช้ทุกครั้ง อาหารไม่จับ เป็นก้อน สีของอาหารไม่เปลี่ยนแปลงไป ไม่มีกลิ่นหืน มีราขึ้น หรือได้กลิ่นของเชื้อรา ไม่ควรนำมาเลี้ยงกุ้ง เพราะจะทำให้กุ้ง ทำให้ภูมิคุ้มกันของกุ้งลดลง
7. ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมอย่าง สม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงก่อนการลอกคราบพร้อมกัน จำนวนมากของกุ้ง เช่น ช่วงก่อน 8 และ 15 ค่ำ
 8. สุ่มตรวจสุขภาพลูกกุ้งสม่ำเสมอ โดยสามารถตรวจ ด้วยตนเอง ดูได้จากความสมบูรณ์ของรยางค์ ลำตัวและสี และลำไส้ หรือส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการ หรือศูนย์ฯ หรือสถานีของกรมประมงในพื้นที่
9. ใส่จุลินทรีย์เพื่อบำบัดคุณภาพน้ำและดินตลอด ช่วงระยะเวลาของการเลี้ยง อย่างสม่ำเสมอ
10. ให้อาหารผสมโปรไบโอติก เป็นประจำตั้งแต่ ก่อนกุ้งอายุ 1 เดือน เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของกุ้ง และ ลดการติดเชื้อก่อโรคในกุ้งโดยเฉพาะในลำไส้ของกุ้ง เช่น การใช้น้ำหมักผลไม้สุก เช่น น้ำหมักสับปะรด เป็นประจำ สม่ำเสมอ (ทุกวันยิ่งให้ผลดี)
11. เลี้ยงปลาในระบบบ่อพักน้ำ บ่อตกตะกอน และ บ่อบำบัดเพื่อให้ปลาเป็นตัวช่วยคัดสรรและผลิต จุลินทรีย์ที่สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารกุ้ง ขี้กุ้ง ได้ดี โดยจุลินทรีย์จะถูกขับมาพร้อมขี้ปลาสู่น้ำและ ดินภายในบ่อ โดยจุลินทรีย์ที่ได้จะช่วยย่อยสลาย สารอินทรีย์ ช่วยควบคุมเชื้อก่อโรค ทั้ง EMS และ ขี้ขาว

การรักษา


1. เมื่อกุ้งแสดงอาการของโรคขี้ขาว การรักษาส่วน ใหญ่ไม่ได้ผล 100 %
 2. การเปลี่ยนเบอร์หรือยี่ห้อของอาหารเม็ดสำเร็จรูป ทำให้แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคขี้ขาวไม่สามารถจะใช้ ประโยชน์จากสารอาหารในอาหารชนิดใหม่ได้ ทำให้ ขาดอาหารและลดจำนวนลง อาการขี้ขาวลดลง แต่ถ้า ไม่มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ดิน อาหาร สารอินทรีย์ใน บ่อให้ดีขึ้น อาการขี้ขาวก็จะกลับมา (ปัจจุบันวัตถุดิบ ในการผลิตอาหารเม็ดมีความใกล้เคียงกันทำให้การ ปรับเปลี่ยนเบอร์และยี่ห้ออาหารอาจไม่ได้ผลดี เท่าที่ควร)
3. ปัจจุบันการใช้ยาปฎิชีวนะไม่ให้ผลการรักษาที่ดี ไม่ สามารถรักษาโรคขี้ขาวได้และเสี่ยงต่อการตกค้างของ ยาในกุ้ง และเชื้อดื้อยา
 4. ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพิ่ม การให้อากาศ พร้อมทั้งเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพในการบำบัดคุณภาพน้ำโดยให้อย่าง ต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาของการเลี้ยง
5. ควบคุมปริมาณการให้อาหาร ให้เหมาะสม
6. ผสมจุลินทรีย์ เช่น ปม.1 หรือน้ำหมักผลไม้สุกให้กิน ทุกมื้อ เช่นน้ำหมักสับปะรด
7. การใช้สมุนไพรที่ให้ผลในการลดการติดเชื้อ การอักเสบของลำไส้ เช่น กล้วย กระเทียม บดผสมอาหาร ให้กุ้งกิน
8. กรณีตรวจพบว่ากุ้งติดเชื้อกรีการีน ให้ผสมกระเทียม 5-10 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกันเป็นระยะ เวลา 3-4 สัปดาห์ ได้ผลดีในกุ้งเล็กอายุไม่เกิน 1 เดือน ในกุ้งใหญ่การรักษาไม่ได้ผลดี
9. กุ้งที่แสดงลักษณะขี้ขาว เป็นลักษณะของการอักเสบ ของลำไส้ที่เกิดจากการติดเชื้อแบบเรื้อรัง การรักษา ในช่วงแรกของระยะติดเชื้อจะได้ผลดี จึงควรสุ่มตรวจกุ้ง ในบ่อก่อนกุ้งระยะ 1 เดือน หรือก่อนลงกุ้ง การรักษา ในกุ้งใหญ่มักไม่ได้ผล อาจลดความรุนแรงของโรค แต่ไม่หายขาด กุ้งยังคงแสดงลักษณะโตช้า และขี้ขาว อัตราการตายของกุ้งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติด เชื้อแบคทีเรีย อาจร่วมกับการติดเชื้อไวรัส เช่น WSSV หรือ YHV และแบคทีเรียก่อโรค EMS

*** หากท่านไม่มีเวลาในการดูแลรักษากุ้งได้เรามีทางเลือกให้ท่านโดยการใช้ ***
***ฟาร์มโอเค ไคโตซาน นาโนเทค นวัตกรรมใหม่ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย***





ฟาม์okไคโตซานเลี้ยงกุ้ง


ฟาม์okไคโตซาน เป็นสารประกอบโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ เป็นสารอาหารที่นำมาใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและเปลือกของกุ้ง เมื่อกุ้งได้รับฟาม์okไคโตซานเข้าไปแล้วจะย่อยฟาม์okไคโตซานเป็น กลูโคซามีน ซึ่งกลูโคซามีนนี้เองที่เป็นสารตั้งต้นของการสร้างเนี้อเยื่อและเปลือกของกุ้ง ส่งผลให้กุ้งลอกคราบได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นด้วยคุณสมบัติอีกประการของฟาม์okไคโตซานคือ. ฟาม์okไคโตซานเป็นสารที่ละลายในกรดแต่ไม่ละลายในด่างและมีลักษณะเหนียวข้น จึงสามารถที่จะนำมาเคลือบอาหารเม็ดได้ โดยที่ ฟาม์okไคโตซานเมื่อเคลือบอาหารและโปรยลงในบ่อเลี้ยงที่มีสภาพเป็นด่างแล้ว ไม่แตกตัวและละลายในน้ำง่าย จึงสามารถลดการสูญเสียอาหารจากการแตกตัวและละลายโดยที่กุ้งไม่ได้นำไปใช้..
!!ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ ฟาม์okไคโตซาน เคลือบอาหารกุ้ง!!
1. กุ้งมีสุขภาพแข็งแรง
2. ช่วยให้กุ้งลอกคราบได้ง่ายขึ้น
3. เพิ่มปริมาณไคตินให้กับเปลือกกุ้งโดยตรง
4. ควบคุมคุณภาพของน้ำในบ่อกุ้งได้ง่ายขึ้น
5. อัตราแลกเนื้อ (FCR) ต่ำลง
6. ลดค่าใช้จ่ายของยาและอาหารเสริมประเภทอื่น
7. ช่วยให้เม็ดอาหารกุ้งละลายในน้ำช้าลงทำให้สิ้นเปลืองอาหารน้อย
8. ลดปัญหาในการเลี้ยง
วิธีใช้= ฟาม์okไคโตซาน สารเสริมกุ้ง
1. ฟาม์okไคโตซาน ปริมาณ 10-20 cc.แล้วคลุกเคลือบกับอาหารกุ้ง น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เคลือบอาหารให้ทั่วทุกเม็ด
2. ผึ่งอาหารกุ้งที่เคลือบด้วย ฟาม์okไคโตซาน ให้แห้งประมาณ 20-40 นาที (จนฟีมส์เริ่มแห้ง) หลังจากนั้นจึงนำอาหารกุ้งไปเลี้ยงตามปกติ
3. สามารถให้ ฟาม์okไคโตซาน บำบัดน้ำในบ่อกุ้ง , ย่อยสลายของเสีย ,เคลือบอาหารกุ้ง พร้อมตีน้ำเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ กุ้งไม่เครียด ใช้เครื่องตีน้ำให้ถึง อย่าขาดเด็ดขาด
จุดเด่น...ของฟาม์okไคโตซานเลี้ยงกุ้ง

ฟาม์okไคโตซาน เป็นสารประกอบโพลีเมอร์ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือเป็นสารอาหารที่นำมาใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและเปลือกของกุ้ง เมื่อกุ้งได้รับฟาม์okไคโตซานเข้าไปแล้วจะย่อยฟาม์okไคโตซานเป็น กลูโคซามีน ซึ่ง กลูโคซามีนนี้เอง ที่เป็นสารตั้งต้นของการสร้างเนื้อเยื่อและเปลือกของกุ้ง ส่งผลให้กุ้งลอกคราบได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นด้วยคุณสมบัติอีกประการของฟาม์okไคโตซานคือ. ฟาม์okไคโตซาน เป็นสารที่ละลายได้ในกรดแต่ไม่ละลายในด่างและมีลักษณะเหนียวข้นจึงสามารถที่จะนำมาเคลือบอาหารเม็ดได้โดยที่ ฟาม์okไคโตซาน เมื่อเคลือบเม็ดอาหารและโปรยลงในบ่อเลี้ยงกุ้งที่มีสภาพเป็นด่างแล้วไม่แตกตัวและละลายในน้ำง่ายจึงสามารถลดการสูญเสียอาหารจากการแตกตัวและละลายโดยที่กุ้งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์

จะทราบได้อย่างไรว่า. ฟาม์okไคโตซานที่ใช้อยู่มีคุณภาพดีหรือไม่
ฟาม์okไคโตซาน ที่มีคุณภาพดีนั้น เมื่อเปิดขวดจะไม่มีลมดันออกมา ถ้าพบว่ามีลมดันออกมาก็แสดงว่าอาจเกิดการหมักของเชื้อที่ปลอมปนและเกิดการเน่าเสียได้สารละลายฟาม์okไคโตซาน ที่ดีจะต้องมีลักษณะใส ไม่มีตะกอนขุ่นหรือมีสารแขวนลอย มีความเหนียวหนืดไม่มากจนเกินไป นอกจากนั้นผู้เลี้ยงกุ้งยังสามารถที่จะทดสอบได้ว่า. ฟาม์okไคโตซาน ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบที่ดีที่สุดในโลก (ฟาม์okไคโตซานแตกต่างในการผลิต) สายพันธุ์สั้น นาโนเทค ชีวภาพเข็มข้น สะอาดปลอดสารเคมี ประหยัด ...โดยการผสมเอ๋ฟาม์okไคโตซานกับน้ำโพลาลิสแล้วดื่มได้อย่างปลอดภัยค่ะ...


ตัวอย่างบ่อกุ้งที่มีปัญหากุ้งเป็นโรคขี้ขาว


 บ่อกุ้งคุณ สุวรรณ ด้วงประเสริฐ์  ใช้ฟาร์มok แก้ขี้ขาวหาย

คุณสุวรรณมีบ่อกุ้งที่ ต.บางพระ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ประสบปัญหากุ้งเป็นโรคขี้ขาวแก้ยังไงก็ไม่หาย ขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งบ่อย แต่เมือทดลองใช้ฟาร์มโอเคปรับสภาพน้ำในบ่อ โดยใช้อัตราส่วน ฟาร์มโอเค 1 แกลลอน ต่อน้ำ 1 ไร่บ่อลึก 1 เมตร และใช้ฟาร์มโอเค คลุกกับอาหารกุ้งอัตราส่วน 20 ซีซีต่ออาหาร 1 กิโลกรัมนำไปผึ่งแดด 1 วันจากนั้นนำไปให้กุ้งกิน ผ่านไป 3 วันอาการขี้ขาวกุ้งหาย และกุ้งแข็งแรงขึ้น กินอาหารได้มากขึ้น 
 เมื่อวันที่ 4 เมษายน คุณสุวรรณได้จับกุ้งขายเป็นที่เรียบร้อยดังรูปด้านล่่างนี้










สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
นลินรัตน์ 086 9165697 ไอดีไลน์ :nalinrat.ta
Facebook :นลินรัตน์ กองแก้ว