วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

โรคตับ อันตรายที่น่ากลัว

          หน้าที่ของตับ





  1. ตับเป็นที่สร้างอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่นสร้องอันบูมิน และสร้างโปรตีนที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว
  2. เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆเก็บเอาไว้ใช้ตอนร่างกายแข็งแรง  เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไกลโคเจน เพื่อเสริมการทำงานส่วนต่างๆ
  3. ตับสร้างเกลือน้ำดี และน้ำดี ทำหน้าที่ละลายไขมัน และน้ำดีช่วยย่อยอาหารและขับออกมาทางน้ำดีส่งต่อมาที่ลำไส้เล็ก
  4. ตับเป็นศูนย์รีไซเคิล นำอาหารที่สะสมไว้มาเปลี่ยนเป็นพลังงานดึงโปรตีนเก่ามาหมุนเวียนกลับมาใช้
  5. ตับขับถ่ายของเสียและสารพิษต่างๆ ตับกรองสารอาหารที่ดีเก็บไว้ในร่างกาย และขับของเสียสารพิษออกทางท่อปัสสาวะ หรือปนมากับท่อน้ำดี  สารพิษบางตัวที่ขับออกมาไม่หมดอาจทำให้ตับอักเสบได้
  6. เป็นเกราะกำบังชั้นดี ช่วยขับสารพิษ สร้างภูมิคุ้มกัน ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย




              สาเหตุที่ทำให้เกิด "โรคตับแข็ง"
โรคตับแข็งเกิดจากหลายสาเหตุ บางครั้งเป็นผลเนื่องจากโรคเกี่ยวกับตับอื่นๆ ก็เป็นได้
 แต่จากสถิติแล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งมักเกิดจาก การดื่มสุรา และเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  
งั้น เรามาลองดูกันว่า อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้

1. โรคตับแข็งที่เกิดจากการดื่มสุรา เหตุที่ทำให้เป็นโรคได้ ก็เนื่องมาจาก สุราทำให้การเปลี่ยน
สารอาหารบางประเภทเช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ผิดปกติไป ทั้งนี้ การดื่มในปริมาณที่มาก
จึงอาจเป็นเหตุของโรคได้ เช่น ผู้หญิงที่ดื่มสุราวันละ 2-3 แก้ว หรือผู้ชายที่ดื่มวันละ 4-6 แก้ว เป็นต้น

2. โรคตับแข็งที่เกิดจากคนเป็นโรคไวรัสตับอักเสบB หรือ D แบบเรื้อรัง พอนานเข้าก็กลายเป็น
โรคตับแข็ง

3. โรคตับแข็งที่เกิดจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อตับ

4. โรคตับแข็งเป็นกรรมพันธุ์ กรณีเช่นนี้คงป้องกันยากอยู่สักหน่อย

5. โรคตับแข็งที่เกิดในคนอ้วน คือ ร่างกายที่ผิดปกติจากโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน แล้วสร้างไขมัน
ในตับเพิ่ม จนกลายเป็นโรคตับแข็ง

6. โรคตับแข็งที่เกิดจากนิ่วอุดตันในถุงน้ำดี จนทำให้น้ำดีไม่สามารถเคลื่อนตัวได้

7. โรคตับแข็งที่เกิดจากการได้รับยาหรือสารพิษติดต่อกันนานๆ เพราะยาบางชนิดตับไม่สามารถ
กำจัดออกจากร่างกายได้ กลายเป็นค้างสะสมไว้
ตับอักเสบเรื้อรัง

คนไทยจำนวนมากเป็นโรคตับอักเสบมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้กลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคตับอักเสบเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข
ทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสตับอักเสบบีมากถึง 780,000 รายต่อปี สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ
มากขึ้นโดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซีที่มักมีการอักเสบของตับเรื้อรังผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
และปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะอาจก่อให้เกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้
ตับอักเสบเป็นภาวะที่เซลล์ตับถูกทำลาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและโปรโตชัวหรือสาเหตุอื่น ได้แก่ พิษสุรา ยาบางชนิด สารเคมี การที่เซลล์ตับถูกทำลายส่งผลให้การทำหน้าที่ของตับบกพร่อง
 ร่างกายทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุของตับอักเสบที่พบบ่อย คือ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ บี ซี 
ดี อีและจี ซึ่งแต่ละชนิดจะมีการติดต่อและแพร่เชื้อที่แตกต่างกัน เช่น ไวรัสตับอักเสบเอและอี สามารถแพร่เชื้อ
ทางอาหาร น้ำดื่ม ผักผลไม้ สัตว์น้ำจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงระบบสุขอนามัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น 
การขับถ่ายอุจจาระลงแหล่งน้ำลำคลอง ไวรัสตับอักเสบบี ซี ดีและจี พบเชื้อในเลือด น้ำเหลือง สารคัดหลั่ง 
น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อได้หลายทาง เช่น ทางเพศสัมพันธ์ 
ทางแม่สู่ลูก การสัก การเจาะหู เป็นต้น
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวต่อไปว่า โรคตับอักเสบที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอมักปรากฏ
อาการในเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าในเด็กเล็ก ผู้ป่วยมักสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสในระยะยาว สามารถหายขาดจาก
โรคได้ ไม่เป็นพาหะเรื้อรัง ซึ่งปัจจุบันมีการให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอตั้งแต่ในเด็กแรกเกิด ไวรัสตับอักเสบบี เป็นไวรัสที่พบมากที่สุดทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในเด็ก ส่วนใหญ่หายได้เอง
และพบผู้ป่วยบางส่วนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง เป็นพาหะของโรคในระยะยาวอาจมีภาวะตับแข็ง เป็นมะเร็งตับได้
 ไวรัสตับอักเสบซี โดยมากไม่พบการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่รู้ว่าติดเชื้อดังกล่าว เพราะไวรัส
ชนิดนี้มักไม่แสดงอาการ ทำให้มีการอักเสบของตับเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ สำหรับอาการโรคตับ
อักเสบโดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร 
บางรายอาจท้องเสีย ต่อมาจะเริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง บางรายมีอาการปวดท้องที่ตำแหน่งชายโครงด้านขวา ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด อาจมีอาการคัน ผื่นลมพิษร่วมด้วย
แนวทางป้องกันโรคตับอักเสบเบื้องต้น คือ รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่และครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผล
ไม้ที่มีคุณสมบัติบำรุงตับ เช่น กะหล่ำปลี แครอท ชาเชียว อะโวคาโด ลิ้นจี่ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆอาหารไขมันสูง ดื่มน้ำสะอาดโดยการต้มให้เดือดเป็นเวลา 20 นาที ก่อนบริโภค ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ หากิจกรรมทำร่วมกับครอบครัวเพื่อให้ผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
 ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 2 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสตับอักเสบบี สามารถให้
ได้ในผู้ที่ยังไม่เคยรับเชื้อมาก่อน โดยก่อนการให้วัคซีนจะต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ เพื่อดูว่าเคยได้
รับเชื้อมาก่อนหรือมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่ติดเชื้อหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกัน แพทย์จะให้วัคซีนเพื่อป้องกัน
โรคดังกล่าวต่อไป
มะเร็งตับ
มะเร็งตับ มีสาเหตุมาจากอะไร ?
1. ส่วนใหญ่ของการเกิด มะเร็งตับ มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบบีและซี จากข้อมูลสถิติของหลายสถาบันได้ผลใกล้เคียง
กันว่า 80% ของผู้ป่วยโรค มะเร็งตับ เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี 
มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็น มะเร็งตับ โดยมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติถึง 223 เท่า (ข้อมูลจากหนังสือความรู้เรื่องโรคตับสำหรับ
ประชาชน)
2. มีข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งว่า ประมาณ 90% ของผู้ป่วยโรค มะเร็งตับ จะมีตับแข็งร่วมด้วย นั่นก็หมายความว่า ถ้าท่านป่วย
เป็นพาหะตับอักเสบบี และมีตับแข็งแล้ว ความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งตับ จะสูงมากๆ ทีเดียว
3. มะเร็งตับ ยังมีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันได้ว่า ผู้ที่ดื่มสุราแอลกอฮอล์เป็นประจำ
มีความเสี่ยงเป็น มะเร็งตับ สูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
4. สารอะฟลาท๊อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งพบปนเปื้อนอยู่ในถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ก็เป็นสารก่อมะเร็ง
 ที่เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิด มะเร็งตับ จากการศึกษาพบว่า อะฟลาท๊อกซิน มีความสัมพันธ์กับไวรัสตับอักเสบบี
 โดยเชื่อว่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นตัวทำให้เกิดมะเร็งตับ และอะฟลาท๊อกซินเป็นตัวเสริม เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นพาหะไวรัส
ตับอักเสบบี จึงควรที่จะหลีกเลี่ยง ถั่วลิสง โดยเฉพาะถั่วลิสงป่นที่ค้างนานๆ ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว และเต้าหู้ยี้

จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเป็น มะเร็งตับ ? 
สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเป็น มะเร็งตับ มีอัตราการอยู่รอดต่ำก็คือ มะเร็งตับในระยะแรกซึ่งจะสามารถรักษาให้หายขาด
ได้นั้น มักไม่แสดงอาการที่ชัดเจนออกมา โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลุมเคลือ เช่น เสียดท้องด้านขวา มีอาการจุกแน่นในบางครั้ง 
แต่โดยส่วนใหญ่แทบไม่มีอาการอะไรเลย ทั้งนี้ ก็เพราะตับเป็นอวัยวะที่มีกำลังสำรองมาก คนเราสามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วย
การทำงานของตับประมาณ 30% ดังนั้น เมื่อมีอาการที่ชัดเจนมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลาม หรือ มีขนาดใหญ่และไม่สามารถจะ
รักษาได้แล้ว

อาการของผู้ป่วย มะเร็งตับ
ที่ชัดเจนก็คือ รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกเสียด แน่นท้อง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว และอาการที่เด่นชัดก็คือ ปวดชายโครง
ด้านขวา โดยอาจร้าวไปที่ไหล่ด้านขวาหรือลำตัวซีกขวา และอาจคลำพบก้อนที่ชายโครง

การตรวจหา มะเร็งตับ ทำได้อย่างไร ?
  เนื่องจาก มะเร็งตับ เปรียบเหมือนมฤตยูเงียบ การเฝ้าระวังจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการที่
จะเป็น มะเร็งตับ คือ ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไปและมีอาการตับแข็งร่วมด้วยควรจะ
ต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยทุก 6 เดือน
การตรวจหา มะเร็งตับ ในปัจจุบัน จะมีการตรวจหาระดับของสารอัลฟาฟิโตโปรตีน (Alfafeto-protein) ซึ่งเป็นสารที่มักพบ
ในผู้ป่วย มะเร็งตับ แต่การตรวจหาค่าอัลฟาฟิโตโปรตีนอย่างเดียวไม่เพียงพอ เนื่องจากมีโอกาสผิดพลาดได้ถึง 30% 
การตรวจจึงควรจะร่วมกับการทำอัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจหาก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้ ถ้าจะให้ละเอียดมากกว่านี้ก็คือ
 การตรวจโดยใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า C T Scan ซึ่งจะสามารถเห็นมะเร็งที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตรได้

มีวิธีรักษา มะเร็งตับ อย่างไรบ้าง ?
มะเร็งตับ ดูเป็นโรคที่มีความน่ากลัว เพราะผู้ป่วยมักเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้ส่วนใหญ่ก็เพราะเมื่อตรวจพบมะเร็งก็มีขนาด
ใหญ่มากแล้ว อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบในระยะแรกๆ ก็มีวิธีที่จะรักษาให้หายขาดได้ เช่น
1. การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก โดยมีเงื่อนไขว่าก้อนมะเร็งนั้นมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร เป็นมะเร็งก้อนเดียว มีเปลือกห่อหุ้ม
 และอยู่ภายในตับกลีบเดียว วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
2. Transcatheter Oily Chemo-embolization หรือ TOCE ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ เนื่องจาก
มีขนาดใหญ่เกินไป วิธีรักษาแบบ TOCE นี้มักจะกระทำโดยรังสีแพทย์ โดยการสอดสายขนาดเล็กเข้าไปทางเส้นเลือดแดงตับ
 เพื่อเข้าไปถึงก้อนมะเร็งโดยตรงเพื่อใส่ยาเคมีเข้าไปที่ก้อนมะเร็ง พร้อมทั้งอุดเส้นเลือดหลักที่เข้าไปเลี้ยงก้อนมะเร็งด้วยในเวลา
เดียวกัน วิธีการรักษาแบบนี้ก็ได้ผลอยู่บ้างแต่ไม่สามารถจะรักษาให้หายขาดได้ โดยส่วนใหญ่มะเร็งจะกลับโตขึ้นมาได้อีก
 หรืออาจแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดหรือกระดูก ในทางการแพทย์การรักษาโดยวิธีนี้จึงเป็นการรักษาเพื่อยืดเวลา
 ในบางกรณีเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงและไม่กระจายไปที่อื่นอาจจะผ่าตัดเอา ก้อนมะเร็งออกเลยก็ได้
3. การใช้คลื่นเสียง RFA (Radiofrequency Ablation) เป็นการฉีดแอลกอฮอล์โดยตรงที่ก้อนมะเร็ง เป็นวิธีการทำลายก้อน
มะเร็งด้วยการใช้เข็มแบบพิเศษ (RF needle) ขนาดเท่ากับไส้ปากกาลูกลื่น ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร แทงผ่านผิวหนัง
เข้าไปในก้อนมะเร็งเป้าหมาย โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้าจากเครื่อง ทำให้เกิดคลื่นความถี่สูงประมาณ 375-500 KHz 
จะทำให้โมเลกุลของเนื้อเยื่อรอบๆ เข็มสั่นสะเทือนและเสียดสีกันจนเกิดความร้อน (Friction heat) ซึ่งจะแผ่กระจายออก
ไปรอบๆ จนครอบคลุมก้อนมะเร็งทั้งก้อน จากการศึกษาพบว่าความร้อนที่มากกว่า 50 องศาเซลเซียส สามารถทำให้
เซลล์ตายได้ ก้อนมะเร็งที่ได้รับการรักษาจะเปรียบเสมือนเนื้อย่าง ซึ่งในต่างประเทศใช้วิธีการรักษามะเร็งตับ RFA
 นี้กันมานานประมาณ 12 ปีแล้ว ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้กันมา ประมาณ 3-4 ปี ที่ผ่านมานี้เอง แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาเหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาแบบประทังทั้งสิ้น
4. การเปลี่ยนตับ ปัจจุบันแพทย์ไทยก็สามารถปลูกถ่ายตับได้ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งมักมีข้อจำกัดมากมาย 
ทำให้การเปลี่ยนถ่ายตับมักไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการรักษา
5. การฉายรังสี วิธีการนี้ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากตับที่ดี มักมีผลเสียจากฉายรังสี

มะเร็งตับ ป้องกันได้…
1. แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี แก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชนถึงวิธีการติดต่อของ
ไวรัสตับอักเสบ บี และซี
2. ลดสาร aflatoxin โดยการเน้นการเก็บอาหารให้แห้งเพื่อลดปริมาณ aflatoxin
3. โรคตับแข็ง โดยการลดการดื่มสุรา
4. ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา เพราะอาจจะทำให้เป็น โรคพยาธิใบไม้ตับหรืออาหารที่หมัก เช่น
 ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ฯลฯ เพราะมีสาร ไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้ ควรรับประทานอาหารที่สะอาด
 และปรุงสุกใหม่ๆ
5. ไม่รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา ระมัดระวังอาหารที่ตากแห้ง รวมทั้งอาหารที่เตรียมแล้ว เก็บค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราปะปนอยู่
6. ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆ หรืออาหารที่ใส่ยากันบูด
7. ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์

ป้องกันการเกิดโรคตับได้ด่วยทานสาหร่ายสไปรูลิน่า




สารอาหารที่มีประโยชน์ในสาหร่าย สไปรูลิน่า
          กรดโฟลิค  บำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง ลำไส้ผิดปกติ
          กรดไขมันจำเป็น GLA ทำให้ผิวนุ่ม ผมดำเงางาม รากผมแข็งแรง
          วิตามินบี12 ช่วยการทำงานของระบบประสาท
          วิตามินอี  ช่วยลดความชรา ริ้วรอย
          ธาตุเหล็ก รักษาโรคโลหิตจาง
          สารแอนตี้ออกซิแดนซ์ B1 B16 กรดอะมิโน อื่นๆ
          เบต้าแคโรทีน เพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา
          คลอโรฟิลล์ บำรุงผิว ล้างสารพิษ ลดอาการท้องผูกและโรคกระเพาะอาหาร  ฟื้นฟูตับ
          ไฟโตไซยานิน สีเขียวแกมน้ำเงิน ดูแลตับ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดการแพร่เชื้อมะเร็ง


               ส่วนประกอบสำคัญ 1 เม็ด สาหร่ายสไปรูลิน่า 200มก.(100%)
            วิธีรับประทาน
      เพื่อป้องกัน  ครั้งละ 5เม็ด   (3มื้อก่อนอาหาร)
      เพื่อบำบัด    ครั้งละ 10เม็ด (3มื้อก่อนอาหาร)
      เพื่อลดน้ำหนัก  ครั้งละ 15เม็ด(3มื้อก่อนอาหาร)
      ขนาดบรรจุ 200 เม็ด(40 กรัม)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
คุณ นลินรัตน์  086-9165697  064-2499483
ไลน์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น