วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาตนให้เป็น "บุคคลเชิงกลยุทธ์" และมีพลังกับความคิดสร้างสรรค์

การทำงานในธุรกิจ การพัฒนาตนให้เป็น "บุคคลเชิงกลยุทธ์" และมีพลังกับความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ เพราะความคิดสร้างสรรค์
ดูเหมือนเป็นสิ่งที่สร้างให้เกิดขึ้นได้ยาก แต่แท้จริงแล้วพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์อยู่ที่ การประยุกต์ประสบการณ์ที่ผ่านมา กับ เหตุการณ์ในปัจจุบัน
ให้มีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน บุคคลเชิงกลยุทธ์ ที่จะเสนอแนวคิดในเชิงสร้างสรรค์ จึงต้องสะสมประสบการณ์และจับประเด็นของประสบการณ์ต่างๆ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ทุกคนต่างมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละคน แต่ไม่ว่าจะประสบการณ์เช่นใด ถ้าสามารถเก็บรายละเอียดของประสบการณ์เหล่านั้น เพื่อนำมาคิด วิเคราะห์ว่า ประสบการณ์เหล่านั้นให้อะไรกับเราแล้ว ก็จะสามารถนำมาเป็นฐานความรู้ หรือ องค์ความรู้
สำหรับในการประยุกต์ในเหตุการณ์ปัจจุบันต่อไป และนี่คือ รายละเอียดเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ อ. ขอแบ่งเป็น ดังนี้
ประสบการณ์ดี และ ประสบการณ์ที่เลวร้ายในธุรกิจ MLM
ประสบการณ์ในธุรกิจ MLM นี้ ดิฉันขอแยกออกได้ 2 ลักษณะที่เด่นชัด คือ ประสบการณ์ดี และ ประสบการณ์ทีเลวร้าย แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าประสบการณ์เหล่านี้
จะเกิดขึ้นอย่างไร การสังเคราะห์ประสบการณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับ บุคคลเชิงกลยุทธ์ ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือประสบการณ์ใดก็ตามควรจะทำ
ประสบการณ์เหล่านั้นมาทำให้ เกิดประโยชน์ต่อตน อย่างสม่ำเสมอ  ประสบการณ์ดีๆ ที่เราประทับใจ เมื่อผ่านเข้ามาก็ทำให้เกิดความสุข ความยินดี และถ้าไม่คิดอะไร มากที่สุดก็ได้แค่ความประทับใจที่เอาไว้จดจำ  ประสบการณ์ที่เลวร้าย เมื่อ ผ่านเข้ามามันก็ทำให้เกิดความทุกข์ ความขมขื่น ความสะเทือนใจ สร้างรอยพยาบาท อาฆาต ซึ่งอาจจะส่งผลถึงการแก้แค้น ในกาลต่อไป ซึ่งประสบการณ์ที่เลวร้าย เรามักจดจำมันได้ง่ายกว่า ประสบการณ์ดีๆ แต่ส่วนใหญ่การจดจำอยู่ในลักษณะที่ต้องการเอาคืนเสียมากกว่า และ ประสบการณ์เหล่านั้นก็จะทำให้จิตใจไม่สดชื่น ไม่เบิกบาน เมื่อใจไม่สดชื่น หน้าตาก็บึ้งตึง และ ยิ่งเป็นมากเท่าไหร่ ความสดใสของชีวิตก็ดูเหมือนว่าจะบั่นทอนความสุขชั่วชีวิตเลยก็ว่าได้
ทั้งนี้ เมื่อมีประสบการณ์ที่ดี หรือ เลวร้าย เกิดขึ้นก็ตาม บุคคลเชิงกลยุทธ์ ควร ที่จะนำเอาประสบการณ์เหล่านั้นมาทำการสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ในคราวต่อไป ได้ง่ายขึ้น การสังเคราะห์สามารถกระทำได้ โดยการนำเอาองค์ประกอบของสถานการณ์ ภาพรวม กระบวนการ รวมไปถึงผลที่ได้รับ ว่าเป็นเช่นใด แล้วทำการหาความเชื่อมโยง หาเหตุของเหตุการณ์นั้น เพื่อโยงไปสู่ผล นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเหตุโดยสมมติเหตุ และ พิจารณาผลจากองค์ประกอบที่
มีว่าเหตุสมมติเหล่านั้น สามารถก่อให้เกิดผลใดได้บ้าง ก็จะเป็นการสร้างแนวคิดเชิงประยุกต์ และ สร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นกับตนมากขึ้นด้วย
ตัวอย่าง เช่น "แนวความคิดที่ไม่ตรงกันระหว่างแม่ทีมกับลูกทีม" เมื่อเกิดปัญหาทางด้านแนวความคิดของสองฝ่ายไม่ตรงกัน สิ่งที่เราจะนำมาวิเคราะห์คือ สาเหตุ ที่ทำให้เกิดปัญหา กับ ผลที่ได้ลัพท์ ทั้งนี้ บริบทของสาเหตุ ยังมีองค์ประกอบมากมาย เช่น พื้นฐานของแต่ละคน ประสบการณ์ของแต่ละคน รวมไปถึง หนังสือที่แต่ละคนอ่าน ที่มีผลต่อแนวความคิดของคนๆนั้น ณ ช่วงเวลานั้นๆ ดังนั้น จึงต้องวิเคราะห์บริบทของทั้งสองฝ่ายว่า มีความสัมพันธ์ มีความต่อเนื่อง หรือ ขัดแย้งกันอย่างไร บ่อยครั้งเราพบว่า แม่ทีมจะใช้หลักการที่เคยทำมาแล้วประสบความสำเร็จในอดีต นำมาใช้ในปัจจุบัน แต่กับสมาชิกใหม่ๆ ยังยึดติดกับสิ่งที่ไม่รู้ หรือวิธีการต่างๆที่ได้เคยทำมาจากบริษัทอื่นๆ ดังนั้น จะพบว่า บ่อยครั้งที่สิ่งที่ไม่รู้จริงกับแนวคิดของแม่ทีมไม่ตรงกัน จึงเกิดความขัดแย้งขึ้น ทั้งนี้ การทำความเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด แต่ความเป็นจริง ความถือตน และ ตำแหน่งหน้าที่ มักจะทำให้ ผู้บริหาร ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ยังคงยึดเอาหลักการของตนเป็นที่ตั้ง และ ให้พนักงานใหม่ หรือ บุคคลที่ขัดแย้งเปลี่ยนแปลงไปตามแนวความคิดตน ซึ่งผลเสียที่ตามมาอาจจะ ทำให้พนักงาน รับไม่ได้และลาออกไป หรือ ลูกทีมปรับตัวให้ยอมรับกับแนวคิดของแม่ทีม แต่ก็จะไม่ยอมที่จะเสนอแนวความคิดใหม่ๆอีก หรือ ได้ลูกทีมที่ไม่ยอมมีความคิดขัดแย้ง เพราะจะทำให้ตนเองเสียผลประโยชน์ ทั้งนี้ผลเสียของ แม่ทีมที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง จึงกลายมาเป็นเครื่องทำร้ายองค์กรเครือข่ายไปในทางอ้อมในบางครั้งไปอย่างน่า เสียดาย  จะเห็นว่า การเพิ่มทักษะแนวความคิดสร้างสรรค์จากประสบการณ์ต่างๆ สามารถกระทำได้ โดยการ สร้างมุมมองทางเลือก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างเพิ่มขึ้น เช่น ถ้าลูกทีมเลือกที่จะเขียนแนวความคิด หาเหตุผลมาสนับสนุนแนวความคิด และ ศึกษาเรื่องต่างๆอย่างละเอียด ก่อนที่จะเสนอแนวความคิดนั้นสู่แม่ทีม จะสร้างการยอมรับให้แม่ทีมได้มากน้อยเพียงใด? ทั้งนี้ การเข้าใจบริบทของแม่ทีมว่า ต้องการพัฒนาองค์กรเครือข่ายให้ไปในทางที่ดี ซึ่งแม่ทีมส่วนใหญ่ยอมรับเหตุผลที่มีข้อมูลสนับสนุน มากกว่าข้อมูลตามแนวความคิด ดังนั้น การเสนอหนทางแนวทางเลือกให้แม่ทีมอาจจะส่งผลดีโดยรวมต่อองค์กรเครือข่ายก็ เป็นไปได้... เป็นต้น
ดิฉัน ขอยกเรื่องประสบการณ์เสมือนการอ่านหนังสือ นอก จากจะสร้างความคิดสร้างสรรค์จากประสบการณ์จริงของตนเองแล้ว การสร้างประสบการณ์เสมือน ก็สามารถกระทำได้จากการอ่านหนังสือทางด้านวิชาการ หรือ ประสบการณ์ของท่านอื่นๆ เช่น หากเรากำลังอ่านหนังสือในเชิง How to (ความรู้)
เราก็ต้องคิดนำมาประยุกต์ใช้กับทีมวานของเราให้ได้ว่า ในบริบทขององค์กรเครือข่ายของเรานั้นเป็นอย่างไร และ ถ้าจะทำลักษณะนี้ควรทำเช่นใด ทั้งนี้
การประยุกต์เรื่องที่อ่านเข้ามาใช้กับชีวิตประจำวัน ในหลายๆครั้ง ในหลายๆเรื่อง จะทำให้เกิดความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์เสมือนของเหตุการณ์ที่เรานึกคิด
ได้ด้วย  นอกจากนี้ ประสบการณ์เสมือนสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้จากการพยายามตอบปัญหาที่เกิดขึ้น ของบุคคลอื่นบ่อยๆ ซึ่งประสบการณ์นี้หากเกิดขึ้นกับตนเองก็จะสามารถ มีแนวทางแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น และ รวดเร็วกว่าปัญหาที่ยังไม่เคยพบเจอ ทั้งนี้ บุคคลเชิงกลยุทธ์ จึงสร้างนิสัยในการคิด ในการวิเคราะห์ รวมถึงสร้างนิสัยที่ชอบแก้ไขปัญหาให้กับบุคคลอื่นโดยทั่วไป เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เสมือนของตนให้มีมากขึ้น และเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่จะใช้ในอนาคต รวมถึงผลักดันให้แนวความคิดสร้างสรรค์ สามารถมีได้ในการประยุกต์ใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา และบ่อยครั้งพบว่า บุคคลเชิงกลยุทธ์ ที่เก่งในความคิดสร้างสรรค์ จะสามารถคิดในเชิงที่คนอื่นคาดไม่ถึงจากการใช้จิตวิทยาเข้ามาประกอบกับการ มองบริบทเสมอๆ 


การมองโลกเชิงบวก

คนมองโลกในแง่ดี ที่มักมีโอกาสดีกว่าคนอื่นเสมอ เพราะเมื่อมองทุกอย่างเป็นบวก ก็ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี ความคิดโปร่งใส ทำอะไรก็ดูจะสบายๆกว่าคนอื่น แต่ที่น่าสนใจก็คือผลจากการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าคนมองโลกในแง่ดียังมีแนว โน้มว่าจะมีอายุยืนยาวกว่าคน อื่นได้ด้วย ในการวิจัยที่ว่านั้นนำกลุ่มคนที่อายุ 20 ปีขึ้นไป 1 กลุ่มที่มีความคิดทางบวก เป็นคนอารมณ์ดี อีกกลุ่มหนึ่ง ซึม เศร้า ไม่มีความเชื่อมั่นตนเอง ในอีก 40 ปีต่อมา คืออายุ 60 ปีขึ้นไป ปรากฏว่าคนมองโลกในแง่ดีนั้นมีคนที่อายุยืนยาวมากกว่ากลุ่มหลังถึง 42%  คนที่มีความคิดเชิงบวก อารมณ์มักไม่ค่อยแปรปรวน ไม่รู้สึกกระวนกระวาย ในเรื่องจิตวิทยาบอกไว้ว่า คนที่มีการคิดบวกจะทำให้มีโอกาสมีสุขภาพดี และสุดท้ายตามมาด้วยความสำเร็จและความสุข  แน่นอนว่าใครๆก็อยากมีความสุข และอยากมองเห็นทุกเรื่องอย่างสบายใจ แต่เอาเข้าจริงๆแล้วไม่ง่ายเท่าไรนัก เพราะการมองโลกเชิงบวกเป็นนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่ยังเด็ก แต่ก็ไม่ใช่ว่าสร้างใหม่ไม่ได้ ดังนั้น อ.มีเคล็ดลับมาฝากพวกเราทุกท่านในวันนี้
1. อารมณ์  ในมิติอารมณ์ เราไม่ชินที่จะสังเกตตัวเองว่า บางครั้งอารมณ์ดี บางครั้งอารมณ์ไม่ดี เราต้องสามารถสังเกตว่าเรามีเหตุผลอะไร  ที่อารมณ์ไม่ดี และมีความสามารถหาคำตอบเพื่อแก้ความอารมณ์ไม่ดีให้ได้
2. การกระทำ  สามารถที่จะแก้ไขอารมณ์ได้ มีข้อแนะนำ คือ
- ต้องออกจากกรอบของตัวเอง โดยควรลองเปลี่ยนแปลงหรือคิดนอกกรอบเดิมๆ เพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และสิ่งใหม่ๆนั่นเอง จะพาความสนใจให้เรา   พบตัวเองไปเรื่อยๆและทำให้เรารู้สึกมีคุณค่า
- ทำอย่างไรให้การกระทำนั้นทำให้เรารู้สึกพอ ซึ่งจะทำให้เกิดผลต่อเนื่องในความคิดที่เรารู้สึกพอใจ และการพอใจแปลเป็นความคิดทางบวก โดยแต่ละคนก็มีวิธีที่ต่างกัน เช่นใช้วิธีเตือนตัวเองด้วยการอัดเทปบอกเล่าสิ่งที่เราทำ บางคนก็จดบันทึกไดอารี่ เมื่อนำกลับมาอ่านก็จะทำให้รู้สึกพอใจกับ สิ่งที่เคยทำไปแม้บางช่วงจะมี อุปสรรคมาก แต่เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ และเกิดความรู้สึกว่า เรามีการก้าวหน้าขึ้นมาก   ซึ่งจะทำให้เกิดความคิดทางบวกได้
- มองถึงเรื่องอนาคต เพื่อหาว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้เกิดทั้งจินตนาการและวิธีการที่จะลงมือทำ ก็เหมือนกับเราซ้อมมือไว้ก่อนที่จะเกิดขึ้น
   จริง  ทำให้เราคิดได้รอบคอบมากขึ้น สิ่งดีๆและความสำเร็จก็จะตามมา
3. การรับรู้  คนที่คิดในทางลบ มักจะคิดถึงตัวเองใน 3 เรื่องคือ
1. การนำอดีตที่เคยผิดหวัง ล้มเหลว เราไม่มีทางทำได้ มาตอกย้ำตัวเองนั่นคือขาดความมั่นใจ
2. ปฏิเสธคนอื่นรอบข้าง โดยรู้สึกว่าคนอื่นคงดีใจเมื่อเราล้มเหลว ทำให้โอกาสที่จะร่วมมือทำงานหรือแชร์ความรู้สึกกับคนอื่นไม่สามารถเกิดขึ้นได้
3. คิดว่าอะไรที่ไม่สำเร็จก็ไม่มีทางแก้ไขหรือไม่มีทางออกอื่นอีกแล้ว เช่นเด็กที่เอนทรานซ์ไม่ติด ก็ฆ่าตัวตาย ทั้งที่ความเป็นจริงเราก็สามารถเรียน ในมหาวิทยาลัยเปิด หรือมหาวิทยาลัย เอกชนได้เหมือนกัน
การวิเคราะห์ความคิดของตัวเอง จึงเป็นกลไกเบื้องต้นที่ช่วยให้เราบริหารอารมณ์ของตัวเองภายใต้เหตุผล และความถูกความผิดได้ โอกาสที่จะคิดดีทำดีก็มีสูงขึ้น เหมือนภาษิตจีนโบราณสอนไว้ว่า เมื่อใจเราคิดอย่างไร เรื่องก็จะเป็นอย่างนั้น
นอกเหนือจากเรื่องการวิเคราะห์ตัวเองและบริหารอารมณ์ให้ได้แล้ว อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การปรับสมดุลชีวิตของตัวเอง เพราะโลกนี้อาจไม่ยุติธรรมหรือสมดุลอย่างที่เราเคยคาดหวังเอาไว้ ซึ่งเราต้องเข้าใจธรรมชาติของมันดังนี้
1. ภายใต้สภาพแวดล้อมของสังคมที่มีการแข่งขันสูงเหมือนในทุกวันนี้ ความพยายามแค่ไหนก็อาจจะยังไม่พอเพราะเราไม่สามารถเดาได้ว่า
    เบื้องหน้าเรามี อุปสรรคที่ยากแค่ไหน
2. มนุษย์ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ตาม ทุกคนต่างก็ถูกควบคุมด้วยเวลาที่มีจำกัดเหมือนกันหมด
3. ต่อให้เราทุ่มเทแค่ไหน และต่อเนื่องแค่ไหน ทุกคนมีชีวิตเดียวเท่ากันหมด
ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ เป็นอุปสรรคที่ทุกคนต้องยอมรับ และสร้างความพอดีให้เกิดขึ้น เหมือนรถไฟซึ่งอยากวิ่งได้ให้เร็วที่สุด แต่ถ้าเร็วเกินไปอาจตกรางได้ หรือช้าเกินไปก็อาจไม่ทันเวลา กลไกชีวิตก็เช่นกัน น้อยไปต้องบวก หากมากก็ต้องลบ เป็นความพอดีที่เราต้องเข้าใจและเรียนรู้  เช่นเดียวกับแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ โดยความพอเพียงคือความพอดีในการดำเนินชีวิต ในการทำธุรกิจอะไรคือพอดี กำลังมีเท่าไรจะทำเท่าไร และจากที่มีอยู่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร  แม้แต่คนที่ไม่มีก็มีความสุขได้ ซึ่งทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับความคิดของตัวเองและการบริหารสิ่งที่มีอยู่ให้ เกิดผลสูงสุดความสุขก็เกิดขึ้นได้  ข้อจำกัดของคนเรามีมากมาย ครับ ทั้งเวลา อายุ ฉะนั้นอย่าปล่อยให้อารมณ์และความคิดของเรามาเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ในเมื่อเวลามีน้อยนักก็ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้สมดุล เพื่อกระตุ้นให้ชีวิตมีความสุข มีจินตนาการ และมีพลังในการทำงานต่อไป ดิฉันขอฝากให้วิธีการฝึกคิดบวก เผื่อบางคนยังไม่รู้จักให้เป็นแนวทางเพิ่มเติม
วิธีการฝึกคิดบวกนั้นไม่ยาก ลองดู 12 ขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้
1. ให้มองไปข้างหน้า อย่ามองย้อนหลัง ทุกคนเคยทำผิดมาแล้วทั้งนั้น แต่ต้องไม่จมอยู่กับอดีตที่ผิดพลาด เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป จงวางเป้าหมาย  เล็กๆที่เป็นไปได้ และพยายามทำให้สำเร็จ
2. รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่น สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นผลพวงมาจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น ในบางครั้งบางคราว   เราต่างตัดสินใจผิดพลาด แต่เมื่อรู้สำนึกแล้ว ก็ต้องปล่อยให้มันผ่านไป เรียกว่าเป็นการให้อภัย และต้องให้อภัยตัวเองเมื่อทำผิดพลาด เพื่อที่จะเดินหน้า  ต่อไป รวมทั้งใช้ความผิดพลาดจากอดีตเป็นบทเรียน เพื่อก้าวย่างที่ดีกว่าในอนาคต
3. ถ้าแก้วมีน้ำแค่ครึ่งเดียว จงเติมให้เต็มแก้ว การมองว่า มีน้ำเหลืออยู่ครึ่งแก้ว หรือน้ำหายไปครึ่งแก้วนั้น ถูกทั้ง 2 อย่าง อยู่ที่ว่าผู้มองเป็นคนมองโลกในแง่ดีหรือร้าย และไม่ผิดอะไรที่คุณจะเติมน้ำให้เต็มแก้ว
4. มองหาบุคคลต้นแบบ ทุกคนควรมีบุคคลต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจ คนคนนั้นอาจเป็นผู้ที่เอาชนะอุปสรรคใหญ่ๆได้สำเร็จ และประสบความสำเร็จอย่าง   งดงามในที่สุด หรือเป็นผู้ที่ทำงานหนักและสัมฤทธิ์ผล จงเอาคนนั้นเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต
5. พาตัวเองเข้าไปอยู่ในแวดวงของคนที่ประสบความสำเร็จและมอง โลกในแง่ดี มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่พลังอำนาจของคนอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อ พลังในตัวเราได้ คนที่คิดในด้านบวกจะช่วยกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้เรา เชื่อมั่นในตัวเองว่า เราสามารถทำสิ่งที่มุ่งมั่นไว้ให้สำเร็จได้ จำไว้ว่า..  จงอยู่ให้ห่างคนที่คิดแต่แง่ร้าย ซึ่งจะขัดขวางการเดินหน้าของคุณ ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหา ผล
6. เห็นคุณค่าสิ่งดีๆในชีวิต เมื่อเราพอใจกับทุกเรื่องดีๆที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม มันจะช่วยให้เราขจัดความคิดในด้านลบออกไป การโฟกัสแต่สิ่งดีๆเหล่านี้ จะทำให้อุปสรรคที่เราเผชิญอยู่ กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราจัดการได้ง่ายขึ้น
7. รู้จักบริหารเวลาอย่างชาญฉลาด อย่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณตั้งเป้าไว้ในชีวิต ข้อสำคัญคือ มุ่งทำในเรื่องที่ทำให้ชีวิตของคุณเป็นไปดังที่หวังไว้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีทัศนคติที่ดี
8. จินตนาการว่ามีสิ่งดีๆเกิดขึ้น แปลกแต่จริงที่ว่า คนส่วนมากมักชอบวาดภาพเรื่องเลวร้ายกำลังเกิดขึ้น โดยมักจะพูดว่าถ้ามันเกิดขึ้น...จงฝึกนึกถึงเรื่อง  ดีๆกำลังเกิดขึ้น มองเห็นภาพงานที่กำลังทำเดินไปด้วยดี (ไม่ว่าจะเป็นงานที่บ้านหรือที่ทำงาน) และได้รับคำชมจากคนรอบข้างว่าเยี่ยมมากเพราะนั่น จะเป็นกำลังใจให้คุณคิดบวกต่อไป
9. ความผิดพลาดมีไว้ให้เรียนรู้ มิใช่แส้ที่เอาไว้เฆี่ยนตี ทุกคนล้วนเคยทำผิดทั้งนั้น และถึงแม้ว่าได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็ยังทำพลาด ขอให้จำไว้ว่า    ยังมีโอกาสให้เริ่มต้นใหม่ ความผิดพลาดต่างๆที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข สิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต
10. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ถ้ารอบๆตัวเต็มไปด้วยข้าวของวางระเกะระกะ กระจัดกระจายไปทั่วห้อง ลองหาเวลาจัดเก็บ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมอง ความคิดได้มาก ใครจะมองโลกในแง่ดีได้ ถ้าต้องอยู่ท่ามกลางสภาพสกปรกรกรุงรังตลอดเวลา เพราะสภาพแวดล้อมที่ดี จะช่วยสร้างและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดทัศนคติด้านบวก
11. รับข้อมูลข่าวสารที่ดี หมั่นอ่านบทความที่สร้างแรงจูงใจ หรือฟังธรรมะที่กระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว และเกิดปัญญา ซึ่งจะช่วยให้มองโลกและชีวิตได้อย่างเข้า ใจ มีความหวัง และความสุข
12. ให้คำมั่นสัญญากับตัวเอง และบอกตัวเอง ซ้ำๆ เพราะคำมั่นสัญญาดีๆมีผลต่อกระบวนการคิดของตัวเอง เช่น ถ้าคุณมีอาการซึมเศร้าเป็นประจำ คำมั่น สัญญาของคุณก็คือ ฉันมีความสุข ฉันควบคุมตัวเองได้บอกตัวเองเช่นนี้หลายๆครั้งในแต่ละวัน แล้วคุณจะรู้สึกถึงพลังความคิดด้านบวกที่เกิดขึ้นสุดท้าย ดิฉัน ขอทิ้งท้ายด้วยการคิดบวกง่ายๆ กับวิธีการข้างล่างนี้
Love Yourself 
ฉันรักทุกอย่างที่ตัวเองเป็น รวมทั้งเห็นค่าของคน สัตว์ และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
Live without Guilt  ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ฉันจะให้โอกาสตัวเองเสมอ
Look on the Bright Side  ฉันจะมองหาแต่สิ่งดี ๆ ในตัวผู้คนและในทุกสถานการณ์
Laugh Out Loud  ฉันจะหัวเราะดัง ๆ ทุกครั้งที่เผลอคิดลบ
Learn to Give  ฉันจะช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่ฉันช่วยได้
Last without Fear  อยู่ใต้ฟ้าจะกลัวอะไรกับฝน ฉันเชื่อว่าไม่มีอะไรที่ฉันทำไม่ได้
และจงมีแต่ความสุข ความสำเร็จเกิดขึ้นกับทุกคนนะคะ
นลินรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น