วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

MLM กับบทเรียนชีวิต 9 การมีมารยาทดีและวิธีใช้คำพูดที่สำคัญมาก

1. มีความสุภาพเรียบร้อยและอ่อนน้อมกับคนทั่วไป โดยไม่ต้องเลือกว่าเขาผู้นั้นจะเป็นใคร ขอให้มีจรรยามารยาทดี
- ผู้ ที่มีจรรยามารยาทดี เป็นบุคคลที่น่าคบ น่ารัก และเป็นที่ต้อนรับของสังคมทั่วไป  เปรียบเหมือนร้านค้า ถ้าร้านใดที่เขาตบแต่งหน้าร้าน โดยรู้จักวางสินค้า
  ให้เป็นระเบียบสวยงามน่าดู มีของวางตั้งให้เป็นที่สะดุดตา จะเป็นที่ชวนให้คนเข้าชมฉันใด
- ผู้ที่มีจรรยามารยาทสุภาพเรียบร้อย ก็จะเป็นที่น่ารักน่าเอ็นดู ชวนให้คนรักใคร่เคารพนับถือ และอยากรู้จักฉันนั้น
- ผู้ที่ได้รับการอบรมศึกษาดี มีจรรยามารยาทดี ถึงหากจะเป็นคนยากจน ก็ได้ชื่อว่าผู้ดี
- ผู้ที่มีจรรยามารยาททราม แม้จะเป็นลูกพระน้ำพระยา หรือจะมั่งคั่งสมบูรณ์สักปานใด ก็ได้ชื่อว่าไพร่ คำว่า "ไพร่" กับ "ผู้ดี" จึงอยู่ที่จรรยามารยาทเป็น
  หลักสำคัญ
- ผู้ที่มีจรรยามารยาทดี ต้องมีสัมมาคารวะ, รู้จักที่ควรและไม่ควร, รู้จักที่สูงที่ต่ำ, รู้จักเกรงใจคน ไม่ทำตัวให้เสมอผู้ใหญ่ แม้เราจะมีฐานะสูงสักปานใดก็
   ตาม ต้องเป็นคนอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง สุภาพเรียบร้อยกับคนทั่วไป
- นอกจากความสุภาพเรียบร้อยในทางจรรยามารยาทแล้ว ความสุภาพในการแต่งกาย ก็นับว่าสำคัญไม่น้อย คนเราแม้จะมีจรรยามารยาทดีสักปานใดก็ตาม
  แต่ถ้าแต่งกายไม่เรียบร้อยแล้ว ก็ยังจัดว่าเป็นคนสุภาพไม่ได้ การแต่งกายยังเป็นเครื่องวัดระดับชั้นของคนได้เป็นอย่างดีอีกว่า เป็นคนชั้นไหน, ได้รับ

  การอบรมศึกษาเพียงใด, เป็นคนชอบอยู่ในสังคมชนิดไหนฯลฯ ฉะนั้น เมื่อการแต่งกายมีความสำคัญเช่นนี้ อ.เชื่อว่าพวกเรารู้จักแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อย
2. มีวาจาอ่อนหวาน ไม่โฮกฮากตึงตังและหยาบโลน
- เมื่อ เราเป็นคนมีจรรยามารยาทดีแล้ว เราก็ควรมีวาจาดีด้วย ต้องมีวาจาสุภาพอ่อนหวาน ซึ่งโดยปกติแล้วคนที่มีจรรยาดี มักจะมีวาจาอ่อนหวานอยู่แล้ว
  เพราะเป็นของคู่กัน คำพูดของคนเรา นับว่าสำคัญที่สุด "ปากเป็นเอก เลขเป็นโท" = คำพูดสำคัญที่สุด เขาจึงจัดให้เป็นเอก คือเป็นหนึ่งนั่นเอง
  ส่วนเลขนั้นหมายถึงตัวหนังสือหรือความรู้ในทางหนังสือ เขากลับให้มีความสำคัญน้อยกว่า จึงจัดให้มาเป็นที่ 2
- คำพูดนี้ให้ได้ทั้งคุณและโทษ เปรียบได้ทั้งยาหอมและยาพิษ สุดแต่ว่าเราจะ รู้จักใช้หรือไม่เท่านั้น เราอาจพูดให้คนรักกันก็ได้ ,ให้คนโกรธกันก็ได้ , ให้
  ชอบกันก็ได้, ให้เกลียดกันก็ได้, แม้จะให้ฆ่ากันก็ได้ คนที่กำลังเหนื่อย เราอาจพูดให้หายเหนื่อยก็ได้
- สมมุติว่ามีคนๆ หนึ่ง วานลูกตักน้ำให้เขากิน โดยใช้คำพูดว่า "ไปตักน้ำให้กินแก้วหนึ่งเถอะไป๊" (พูดห้วนๆ ไม่มีหางเสียง เป็นทำนองออกคำสั่ง) กับมีคนอีก
  คนหนึ่งใช้คำพูดว่า "กรุณาขอน้ำให้ผมรับประทานสักแก้วเถอะครับ" คำพูดของคน 2 คนนี้ พวกเราชอบคำพูดของคนไหน
- คำพูดโฮกฮากตึงตังชนิดมะนาวไม่มีน้ำ กับคำพูดที่อ่อนหวานนิ่มนวลนั้น มีความหมายในความรู้สึกทางจิต
ใจของผู้ฟัง และผู้ที่ถูกใช้แตกต่างกันอย่างไร
   แม้ว่าทั้ง 2 ประโยคนี้มีความหมายในสาระของเรื่องอย่างเดียวกัน
- คำพูดที่อ่อนหวานนิ่มนวลนั้น แม้เราจะใช้กับใคร เขาก็ยินดีกระทำให้ด้วยเต็มใจ
- คนทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนใช้ หรือจะเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อยสักปานใด ล้วนต้องการได้ยินคำพูดที่ไพเราะและอ่อนหวานด้วยกันทั้งนั้น
- คำพูดบางคำ เช่น โปรด, กรุณาช่วยสงเคราะห์, ขอบใจ, ขอบคุณ, ขอโทษ, หรือขอประทานโทษ ฯลฯ พวกเราจะต้องหัดพูดให้ติดปากอยู่เสมอ 
  เพราะคำพูดเหล่านี้แสดงความสุภาพอ่อนหวาน เป็นการถ่อมตัวลง และยกย่องคนอื่นให้สูงขึ้น
- ถ้าเราจะใช้คนให้ยกของไปจากโต๊ะ ถ้าเราพูดหรือใช้ในลักษณะเป็นนาย เช่น "ยาย ก. ยกนี่ไปที" กับเราพูด "ยายจ๊ะ ช่วยสงเคราะห์ยกนี้ไปทีเถอะจ๊ะ"
  คำพูด 2 ประโยคนี้ ทั้งๆ ที่มีใจความเหมือนกัน แต่ก็มีความหมายและความรู้สึกในจิตใจของผู้ที่ถูกใช้ผิดกันมาก
- การที่เราใช้คำว่า ช่วยสงเคราะห์ นำหน้าเท่ากับเป็นการวิงวอนขอร้อง ทำให้ผู้ถูกใช้ยินดีปฏิบัติงานให้เราด้วยความเต็มใจ ทำให้เขาเห็นว่าเรามี ความเมตตา
  ปรานีต่อเขา เขาจะเกิดความรักใคร่นับถือในตัวเรายิ่งขึ้น
- คนทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ย่อมมีความทะนงและถือดีในตัวเองอยู่เสมอไม่มากก็น้อย ต่างไม่ต้องการให้ใคร มาวางอำนาจเหนือตน หรือดูถูกเหยียดหยาม
  ตนด้วยกันทั้งนั้น การที่คนมารับจ้างเป็นคนใช้เราก็เท่ากับเป็นการทำงานชนิดหนึ่งด้วยการแลก เปลี่ยนระหว่างกำลังงานกับเงิน เขาทำงานให้เรา เราก็ให้เงิน
  เดือนเขา เป็นการแลกเปลี่ยนหรือตอบแทน จึงไม่เป็นการสมควรที่จะไปดูถูกเหยียดหยามล่วงเกินเขา ขอให้พวกเราเข้าใจในข้อนี้ให้ดี
- คนทุกคนเกิดมาเสมอกันหมด เราดีกว่าเขาในบางอย่าง แต่เขาก็ดีกว่าเราในบางอย่างเช่นเดียวกัน กรรมกร 3 ล้อ เขาอาจมีความ
รู้ต่ำกว่าเรา และมีอะไรๆ
  อีกหลายอย่างเลวกว่าเรา แต่ถ้าเราจะไปถีบรถ 3 ล้อแข่งกับเขา เราก็สู้เขาไม่ได้อย่างแน่นอน แม้แต่การอดทน เช่น ทนต่อความร้อน ทนต่อความเหนื่อย
เราก็คงสู้เขาไม่ได้ ทั้งเขาอาจมีนิสัยและความรู้บางอย่างดีกว่าเราก็ได้  ฉะนั้น เราต้องสุภาพและอ่อนหวานกับคนโดยทั่วไป
- อย่าใช้คำพูดที่โฮกฮากตึงตังที่แข็งกระด้าง หรือที่หยาบโลน อย่าใช้คำพูดที่จะทำให้ผู้ได้ยินเห็นเป็นการเยาะเย้ยหรือดูถูกเหยียบหยาม และอวดดี อวด
  อำนาจเป็นอันขาด เพราะคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่เพาะศัตรูทั้งสิ้น
- ส่วนคำพูดที่สุภาพ และอ่อนหวานนั้น เป็นคำพูดที่มีเสน่ห์ แสดงความเป็นมิตร แสดงความหวังดี แสดงความมีเมตตจิต เป็นคำพูดที่ยกให้คนอื่นสูงขึ้นและ
   ถ่อมตัวเราเองลง ย่อมทำให้ผู้ได้ฟังเกิดความนิยมรักใคร่และนับถือ ทั้งเป็นแสดงถึงการมีสมบัติผู้ดีอีกด้วย
- นอกจากการใช้คำพูดแล้ว สำเนียงหรือหางเสียงของคำพูด ยังมีความสำคัญอีกไม่น้อย คำพูดเหมือนกัน ประโยคเดียวกัน แต่ถ้าเราใช้สำเนียงหรือหาง
  เสียงผิดกันแล้ว ก็จะทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกผิดแผกแตกต่างกันมาก ฉะนั้น จึงควรพูดให้มีสำเนียงและหางเสียงอ่อนโยนละมุนละไมนิ่มนวล
- แม้การจะใช้คนก็ควรพูดด้วยสำเนียงเป็นเชิงขอร้องวิงวอน อย่าพูดห้วนๆ หรือกระชาก ทำนองมะนาวไม่มีน้ำ หรือพูดไม่มีหางเสียงเป็นอันขาด เว้นแต่ถึงคราวที่จะต้องแสดงความเด็ดขาดเฉพาะเรื่องเฉพาะราย
3. พูดแต่น้อย ให้ฟังคนอื่นมากกว่าพูดเอง และให้พูดแต่เรื่องที่เรารู้จริง เรื่องใดรู้ไม่จริง หรือเพียงแต่สงสัยก็อย่าพูด
- การพูดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง คนเขาอาจวินิจฉัยฐานะความเป็นอยู่จากคำพูดของเราได้ว่า เป็นคนได้รับการอบรมศึกษาแค่ไหน เป็นคนมีความประพฤติและนิสัย
  ใจคออย่าง คนที่พูดมากนั้น อาจกลายเป็นคนพูดพล่าม จะเป็นที่รำคาญแก่คนอื่น เขาอาจหาว่าเราเป็นคนฟุ้ง เป็นคนอวดรู้อวดฉลาด อวดดีหรืออวดเก่ง
  หรือเป็นคนคุยโวโป้ปดก็ได้ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งไม่ดีทั้งนั้น และจะกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน หรือพูดเพ้อเจ้อ ทำให้คำพูดเราหมดราคา คือพูดอะไรไม่มีคนเชื่อ
  ถือ นอกจากนั้น บางทีการพูดมากยังอาจก่อให้เกิดเรื่องอีกก็ได้
- หลักการพูด  ต้องอย่าพูดมากจนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน หรือพูดเพ้อเจ้อ อย่าพูดแดกดัน, อย่าพูดขัดคอ, อย่าพูดให้ร้ายคน, อย่าพูดทำนองประจบ
  สอพลออย่าพูดอวดรู้อวดฉลาด อวดร่ำอวดรวย อวดความสามารถเก่งกาจอะไรต่างๆ แต่ต้องประหยัดคำพูด พูดแต่น้อย พูดเฉพาะเรื่องที่เรารู้จริง ถ้า
  เรื่องใดรู้ไม่จริง หรือเพียงแต่สงสัยแล้วก็อย่าพูด ให้ฟังคนอื่นเขาพูดดีกว่าพูดเอง ถ้าเราพูดมาก ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดมาก ถ้าพูดน้อยก็ผิดพลาดน้อย
- ก่อนที่จะพูดอะไร เราต้องไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนว่า ที่เราคิดจะพูดนั้น เป็นสิ่งควรพูดหรือไม่ , เมื่อพูดไปแล้ว ผู้ฟังเขาจะนึกอย่างไร ถ้าเห็นว่าจะ
  เป็นผลดี หรืออย่างน้อยก็ไม่เสียหายแล้ว จึงควรพูด แต่ถ้าเห็นว่าเมื่อพูดอะไรออกไปแล้ว จะนำความเสียหายมาสู่ตัวเรา หรือจะทำความไม่พอใจมาให้คน
  อื่นแล้ว ก็จงงดเว้นอย่าพูดเลยเป็นอันขาด เพราะจะเป็นการเสียผล
- การพูดอะไรต่อหน้าคนหมู่มาก เราจะต้องระวัง เพราะอาจเป็นการกระทบกระเทือนคนอื่นได้ แม้เราเห็นว่าคำพูดนั้นๆ จะถูกใจคนๆหนึ่ง หรือหมู่หนึ่ง แต่ก็
  อาจไม่ถูกใจคนอีกคนหนึ่ง หรืออีกหมู่หนึ่งได้ ฉะนั้น เมื่อพวกเราอยู่ในสังคมคนหมู่มาก จึงต้องระมัดระวังการใช้คำพูด และเรื่องที่จะพูดให้มากเป็นพิเศษ
 เห็นไหมว่าการพูด สำคัญมาก ทำให้คนทุกข์ได้ สุขได้ ทั้งหมดนี้ อ.ขอฝากสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ใช้คิดก่อนพูดนะ
นลินรัตน์  ID Line:nalinratkongkaew


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น